Call us at 09:30 AM - 10:00 PM

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา HST

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ





2546

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2546 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 5 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 50,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเลเบลหรือสติ๊กเกอร์ ตามรูปแบบที่ลูกค้ากำหนด




2548

เหตุการณ์สำคัญ

ในเดือนตุลาคม ได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 1 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 5 ล้านบาท รวมเป็น 6 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ




2550

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทฯ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ การพิมพ์ซิลค์สกรีน สำหรับแสดงข้อความ สัญลักษณ์และปุ่มกดบนแผงควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยลงทุนซื้อเครื่องซิลค์สกรีนแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi Auto) จำนวน 1 เครื่อง เพื่อใช้ในกระบวนการพิมพ์ซิลค์สกรีนบนแผ่นพลาสติก (Plastic Sheet)




2552

เหตุการณ์สำคัญ

ลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์สกรีนอัตโนมัติ (Sakurai ) ประเทศญี่ปุ่น สำหรับงานแผ่น (Sheet form) ด้วยระบบการป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องแบบอัตโนมัติด้วยความเร็ว 1,700 แผ่น/ชั่วโมง




2555

เหตุการณ์สำคัญ

เริ่มนำเครื่องเจาะรูอัตโนมัติด้วยระบบ CCD เข้ามาใช้ในประบวนการผลิต เพื่อเพิ่มความแม่นยำและรวดเร็วในการเจาะรู




2556

เหตุการณ์สำคัญ

ในเดือนกันยายน ได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 4 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 6 ล้านบาท รวมเป็น 10 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ และเริ่มนำเครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์ (Intermittent Letterpress) ที่มีความสามารถในการพิมพ์สีได้ 5 สี ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายสี และยังสามารถผลิตงานได้อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับปริมาณงานในจำนวนมาก




2557

เหตุการณ์สำคัญ

เริ่มใช้เครื่องพิมพ์ซิลค์สกรีนอัตโนมัติสำหรับงานแบบม้วน (Roll to Roll) (Sundaily) จากประเทศจีน ซึ่งความสามารถพิเศษของเครื่องนี้คือ ให้ความแม่นยำในการพิมพ์สูง ลดปัญหาเรื่องรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี (Scratch)




2561

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 90 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 10 ล้านบาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ


บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (“บมจ. ไซแมทฯ” หรือ “Simat”) ซื้อหุ้นสามัญจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม และหุ้นสามัญเพิ่มทุน จนทำให้ บมจ. ไซแมทฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 70 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว


บริษัทฯ ซื้อหุ้นบริษัท ฮินซิซึ สกรีน พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (“HSPT”) จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นใน HSPT ร้อยละ 100 และมีทุนจดทะเบียนเท่ากับ 6 ล้านบาท




2562

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท เพื่อลดผลกระทบจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น โดยการซื้อหุ้น บริษัท ไซแมท เลเบล จำกัด (“SL”) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเลเบลหรือสติ๊กเกอร์คล้ายกับธุรกิจของบริษัทฯ จาก Simat ทำให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นใน SL ร้อยละ 100 โดย SL มีทุนจดทะเบียนเท่ากับ 34 ล้านบาท


บริษัท ฮินซิซึ สกรีน พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฮินซิตซุ พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (“HPT”) และ HPT เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 40 ล้านบาท โดยมีผู้ร่วมทุนอื่นที่ไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันเข้าถือหุ้นใน HPT ร้อยละ 24.99 และบริษัทฯ ถือหุ้นใน HPT ร้อยละ 75.01 ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ In Mold Decoration ซึ่งเป็นการฉีดหรือหล่อพลาสติกเคลือบบนชิ้นงานซิลค์สกรีน เพื่อความคงทน สวยงาม และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์


บริษัทฯ ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) จากกระทรวงอุตสาหกรรม




2563

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทย่อย (SL) ลงทุนซื้อที่ดินที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ขนาด 7-3-64 ไร่ จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกันเพื่อเตรียมสำหรับสร้างโรงงานแห่งใหม่ของกลุ่มบริษัท โดยจะมีพื้นที่ทั้งโรงงานสำหรับการผลิตและส่วนของสำนักงานใหญ่




2564

เหตุการณ์สำคัญ

25 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัทฯ จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ฮินซิซึ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)


บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) (“OTO”) เข้าลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทฯ สัดส่วนร้อยละ 10 จาก Simat ส่งผลให้ Simat คงเหลือสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 60




2565

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทฯ เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 100 บาท เป็นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท


ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 มีมติอนุมัติการก่อสร้างอาคารโรงงานและอาคารสำนักงานแห่งใหม่ในวงเงินไม่เกิน 280 ล้านบาท




2566

เหตุการณ์สำคัญ

บริษัทฯ และ HPT ดำเนินการย้ายโรงงานและสำนักงานจากอำเภอบางพลี มาที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเริ่มดำเนินการผลิตที่โรงงานแห่งใหม่ในไตรมาสที่ 2


ที่ประชุมคณะกรรมการของ Simat ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติอนุมัติการจำหน่ายหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 19,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.54 ของทุนชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลัง IPO เสนอขายต่อประชาชน โดยการเสนอขายจะเกิดขึ้นในคราวเดียวกันกับการเสนอขายหุ้น IPO ของบริษัทฯ


ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 อนุมัติมติที่สำคัญดังนี้

  • เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวน 26,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 52,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 0.50 บาท ซึ่งจะทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากทุนจดทะเบียนจำนวน 100,000,000 บาท เป็น 126,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 252,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 52,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เป็นดังนี้
    • จำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 44,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering: IPO)
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 8,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในราคาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาที่เสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO Price) ทั้งนี้ หากมีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนที่เหลือดังกล่าวเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)